วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

บริจาคมูลนิธิเด็ก


ตอนนี้มูลนิธิเด็กก่อตั้งมาครบ 30 ปีแล้ว ผมเชื่อว่าหลายท่านอาจยังไม่เคยรู้จัก หรือว่าเคยได้ยินเกี่ยวกับมูลนิธินี้


บทบาทที่สำคัญเช่น



  • ช่วยเหลือเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน เช่น ถูกทารุณ ทอดทิ้ง ใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย และเป็นโสเภณีเด็กให้มีโอกาสดีสำหรับชีวิตในอนาคต

  • กระตุ้นเตือนสาธารณชนให้ตระหนักในเรื่อง “การพิทักษ์สิทธิ” ของเด็ก และ “ปัญหา” เด็กไทย

ด้านล่างนี่เป็นสิ่งที่มูลนิธิจำเป็นต้องใช้อยู่เป็นประจำ ท่านใดมีจิตศรัทธา ลองดูด้านล่างก่อนเผื่อมีสิ่งใดไม่เกินเรี่ยวแรงของท่าน หรือสนใจจะ ทำบุญวันเกิด ก็เป็นอีกที่ที่รอการช่วยเหลืออยู่










หมวดอาหาร

1. นมกล่องยูเอชที รสจืดอย่างเดียว (ยี่ห้อใดก็ได้)
2. นมผงรสจืด (ช่วงอายุแรกเกิด-1 ปี/6 เดือน-3ปี)
3. เครื่องปรุงอาหารต่าง ๆ (ซีอิ๊ว, น้ำปลา, ซอสปรุงรส, ซอสหอยนางรม, ซอสมะเขือเทศ, น้ำมันพืช, น้ำตาลทราย, เกลือ ฯ)
4. ข้าวสาร, ข้าวเหนียว, เส้นหมี่-เส้นเล็กอบแห้ง, วุ้นเส้น
5. ไข่ไก่
6. ผักสด (สำหรับปรุงอาหาร), กระเทียม, หอมแดง
7. ผลไม้สด
8. ขนม ประเภทเบเกอรี่ (ขนมปัง, เค้ก, แยมโรล, ชิฟฟ่อน, เอแค), ขนมปังปีบ, น้ำหวาน

** ไม่รับบริจาคประเภทขนมขบเคี้ยว, กรุบกรอบ, ลูกอม, เคลือบสี, หมากฝรั่ง, อมยิ้ม, น้ำอัดลม









หมวดของใช้ประจำวัน

1. แชมพู, สบู่, สบู่เหลว, แป้ง
2. ผงซักฟอก, น้ำยาซักผ้าเด็ก, น้ำยาปรับผ้านุ่ม, น้ำยาล้างจาน
3. สำลีม้วน,ก้อน,แผ่น,คัตตันบัต,กระดาษทิชชู่
4. แพมเพอร์ส  M,L,XL, ผ้าอ้อมผ้า
5. ผ้าขนหนู เล็ก,ใหญ่
6. เสื้อผ้าเด็ก (แรกเกิด- 6ปี)
7. รองเท้าเด็ก (รองเท้าแตะ, รองเท้าหุ้มข้อ)
8. ผ้าอนามัย (สำหรับเด็กวัยรุ่น)








หมวดอุปกรณ์เครื่องเขียน

1. ดินสอ, ยางลบ, สมุด, สมุดวาดเขียน, ไม้บรรทัด, สีเทียน, สีไม้, สีน้ำ, ปากกา, สื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ
2. ของเล่น ประเภทเสริมทักษะเด็ก เน้นจำพวกไม้ (ไม่รับจำพวกของเล่นพลาสติก)
3. กระดาษA4 ใหม่ และ กระดาษรีไซเคิล (กระดาษหน้าเดียว)








หมวดกีฬาและทั่วไป

ทุกประเภท ทั้งใหม่และใช้แล้วแต่อยู่ในสภาพดี







หากท่านสนใจจะบริจาคสิ่งของสามารถนำมาบริจาคด้วยตนเอง
หรือจัดส่งมาทางไปรษณีย์เท่านั้นได้ที่
มูลนิธิเด็ก 95/24 หมู่ 6  ซ.กระทุ่มล้ม18 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม
อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
โทร. 0-2814-1481-7 โทรสาร : 0-2814-0369
ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น.



ขอขอบคุณทุกน้ำใจที่ท่านจะแบ่งปันให้แก่เด็กน้อย ผู้ซึ่งเป็นความหวัง
ในวันพรุ่งของสังคมและโลก

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

สิทธิเด็กคืออะไร

" สิทธิ " หมายถึง
ทุกสิ่งที่ยุติธรรม และเป็นสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล ที่มีหรือมีความสามารถที่จะมี

" สิทธิเด็ก " เป็นสิทธิสากล (Universal Rights) และเป็นสิทธิเด็ดขาด (Absolute Rights) ที่ต้องได้รับการรับรองและคุ้มครอง อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ไม่ได้ใช้เพื่อการเรียกร้องสิทธิเด็ก แต่ใช้เพื่อการพัฒนาเด็กทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ให้เจริญเติบโตรอบด้านเต็มศักยภาพ และไม่เลือกปฏิบัติด้วยการผนึกกำลังร่วมกันในทุกสถานบันทั่งโลก

ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา สถานะทางสังคม วรรณะ เพศ ผิด

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เป็นผลมาจากการทำงานของคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษชนขององค์การสหประชาชาติ และได้ประกาศใช้ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2533 และประเทศไทยได้ลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2535

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ มีทั้งสิ้น 54 ข้อ โดย 40 ข้อแรก เป็นสาระสำคัญด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ 14 ข้อหลัง เป็นส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการพันธกรณีที่ระบุไว้

เด็กในความมุ่งหมายของอนุสัญญานี้ หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยกเว้นผู้ที่แต่งงานถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ


สิทธิที่จะมีชีวิตรอด
(Right of Survival)
ครอบคลุมถึงสิทธิของเด็กที่จะมีชีวิต และสิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม อันรวมถึง ที่อยู่อาศัยโภชนาการและยารักษาโรค
- สิทธิในการมีชีวิตรอดและส่งเสริมชีวิต
- ได้รับโภชการที่ดี
- ได้รับความรักความเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคม
- ได้รับการบริการด้านสุขภาพ
- การให้ทักษะชีวิตที่ถูกต้อง
- การให้ที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดู

สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development)
ครอบคลุมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เด็กมีความต้องการจะพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพเช่น สิทธิที่จะได้รับการศึกษา การเล่น การพักผ่อนหย่อนใจ มีกิจกรรมด้านวัฒนธรรม เข้าถึงข้อมูลและมีเสรีภาพทางความคิด สติปัญญาและศาสนา
- ได้รับการศึกษาทั้งใน/นอกระบบ
- เข้าถึงข่าวสารที่เหมาะสม
- เสรีภาพในความคิด มโนธรรม และศาสนา
- พัฒนาบุคลิกภาพ ทั้งทางสังคมและศาสนา
- พัฒนาบุคลิกภาพ ทั้งทางสังคมและจิตใจ
- พัฒนาสุขภาพร่างกาย

สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง (Right of Protection)
ครอบคลุมสิทธิทุกประการที่จะปกป้องคุ้มครองเด็ก จากการถูกล่วงละเมิดทุกประเภท การทอดทิ้งและการบ่อนทำลาย เช่น การดูแลเด็กที่อพยพเป็นกรณีพิเศษ ปกป้องจากการถูกทรมาน การล่วงละเมิดในระบบการศาล เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่ใช้แรงงานเด็ก ยาเสพติด และการล่วงละเมิดทางเพศ
- การคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ
- การล่วงละเมิด การทำร้าย การกลั่นแกล้งรังแก
- การถูกทอดทิ้ง ละเลย
- การลักพาตัว
- การใช้แรงงานเด็ก
- ความยุติธรรมต่อผู้เยาว์
- การเอารัดเอาเปรียบทางเพศ

สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation)
ให้ สิทธิแก่เด็กที่จะมีบทบาทในชุมชนและชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นทุกประการ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง เพื่อให้สามารถเข้าสังคมสโมสรได้อย่างสงบสุข เพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วม เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบในอนาคต
- แสดงทัศนะของเด็ก
- เสรีภาพในการติดต่อข่าวสารข้อมูล
- มีบทบาทในชุมชน
- แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก

  1. เด็กควรจะได้รับการเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง บุคคล หรือครอบครัว ที่ให้ความรักความเข้าใจ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทุกด้านของเด็ก
  2. เด็กควรได้รับอาหารอย่างน้อยที่สุดตามความเหมาะสมแก่ร่างกายของเขาและเธอ
  3. ควรมีการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก
  4. เด็กควรมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
  5. เด็กควรได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นอย่างน้อย
  6. เด็กควรได้รับการพัฒนาให้มีความสุขกับชีวิต และรักษาเอกลักษณ์และมรดกของชาติไว้
  7. เด็ก ควรได้รับการความรู้และการฝึกอบรมเพื่อเป็นการเตรียมสู่การประกอบอาชีพตาม ความเหมาะสมกับ ทัศนคติ ความสามารถและความสนใจของเขาและเธอ
  8. เด็กควรได้รับโอกาส และสามารถแสดงความคิดเห็นของเขาและเธอ
  9. เด็กควรได้รับการบริการขั้นพื้นฐานจากทั้งภาครัฐและเอกชน
  10. เด็กควรจะมีโอกาสรับรู้และปกป้องสิทธิและประโยชน์

2466 สิทธิเด็กได้รับการยอมรับจาก สมาพันธ์เซฟเดอะชิลเดร็นนานาชาติ
2467 สิทธิเด็กได้รับการยอมรับจาก สันนิบาตชาติ
• ถือว่าเป็นการประกาศ “สิทธิเด็ก” ครั้งแรกของโลก
2501 สมัชชาแห่งสหประชาชาติ รับรองการประกาศ สิทธิมนุษยชนทั่วโลก

2502

กลุ่มสมัชชา สหประชาชาติ รับรองการประกาศใช้สิทธิเด็กครั้งที่สอง
• คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เริ่มร่าง “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก”
2522 เป็นปีเด็กสากลมีการประชาสัมพันธ์ ประกาศสิทธิเพื่อเด็ก 10 ประการ
2532 ร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กสำเร็จ*อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้รับการรับรองโดยสมัชชาแห่งสหประชาชาติ
2533 ประเทศไทยลงนามรับสัตยาบัน “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก”
2535 อนุสัญญามีผลบังคับใช้ในประเทศไทย
ต้องรายงานผลการดำเนินงาน 2 ปีหลังจากนั้นและทุกๆ 5 ปีหลังจากนั้น

รณรงค์หาทุนช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์

โครงการรณรงค์หาทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก
และเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์

มูลนิธิฯได้จัดทำสินค้าเพื่อนำมาจัดจำหน่ายแล้วนำผลกำไรที่ได้ไปเป็นทุนช่วยเหลือเด็กที่อยู่
ในภาวะยากลำบาก ซึ่งท่านสามารถช่วยเหลือน้องๆเหล่่านี้ได้ ด้วยการสนับสนุน สินค้าและ
ผลิตภัณฑ์ของเรา
ผลิตภัณฑ์ของเรา

รหัส สินค้า รักษ์เด็ก T-Shirt
ราคา 180 บาท

Size S , M , L , Xl

มี 2 สี สีขาว และ สีดำ



--------------------------------------------------------------------------------

รหัส สินค้า LOVE T-Shirt
ราคา 180 บาท

Size S , M , L , Xl

มี 1 สี สีขาว



--------------------------------------------------------------------------------

รหัส สินค้า กระเป๋า
ราคา 100 บาท

มี 2 สี สีน้ำเงิน และ สีดำ



--------------------------------------------------------------------------------

รหัส สินค้า รักษ์เด็ก Diary
เล่มเล็ก 79 บาท เล่มใหญ่ 149 บาท

--------------------------------------------------------------------------------

กระเป๋าและ Diary ยังไม่รวมค่าจัดส่ง
จัดส่งแบบลงทะเบียน 30 บาท

Download ใบสั่งซื้อสินค้า
หรือ
โทรสั่งซื้อสินค้าได้ที่เบอร์ 053-201246

--------------------------------------------------------------------------------
วิธีการสั่งซื้อ

ธนาณัติ หรือ ตั๋วแลกเงิน สั่งจ่าย มูลนิธิรักษ์เด็ก
เช็ค สั่งจ่าย มูลนิธิรักษ์เด็ก
โอนเงินผ่านบัญชี

ธนาคาร กสิกรไทยหมายเลข 414-2-23983-9 สาขาสี่แยกสนามบินเชียงใหม่ ชื่อบัญชีมูลนิธิรักษ์เด็ก เพื่อเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบากที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์

สามารถโอนผ่าน ATM ได้ครับ
* กรณีโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารหรือ ATM กรุณาส่งสำเนาใบโอนเงิน-สิลิปATM พร้อมชื่อที่อยู่ที่ชัดเจนในการติดต่อกลับ มาให้ด้วยนะครับ

เบอร์แฟกซ์
มูลนิธิรักษ์เด็ก
0 5 3-201247

ที่อยู่ มูลนิธิรักษ์เด็ก
159/26 หมู่บ้าน อนุสารวิลล่า ถ. เชียงใหม่-ฮอด ต. ป่าแดด
อ. เมือง จ. เชียงใหม่50100
โทรศัพท์/โทรสาร 053 201246-7

ร่วมเผยแพร่ข้อมูลจาก http://www.rakdek.or.th